|
|
![]() |
เราจะพัฒนากันต่อไปด้วย...ความรัก สัมภาษณ์พระไพศาล วิสาโล
แบ่งปันบน
facebook Share
|
||
|
|||
คำถาม
แต่เดิมภารกิจของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา นั้น ได้แก่ การป้องปราบภัยคอมมิวนิสต์
โดยใช้หลักการพัฒนาเป็นเครื่องมือในการเข้าไปแก้ไขปัญหา แต่ปัจจุบันปัญหาลักษณะดังกล่าวนี้กลับยังเกิดขึ้นอยู่ในชายแดนภาคใต้
ทั้งที่ทางหน่วยยังคงดำเนินภารกิจการพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ในทรรศนะของพระอาจารย์
ท่านมอง คำว่า พัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวควรจะดำเนินไปในทิศทางใดครับ
? สำหรับปัญหาของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาอย่างหนึ่งก็คือเป็นภูมิภาคที่มีความยากจนมาก ทั้ง ๆ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร แต่รายได้โดยเฉลี่ยของทั้ง ๓ จังหวัดต่ำที่สุดในภูมิภาค และต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ ด้วย หากถามว่าความยากจนนี้เกิดจากอะไร ไม่ใช่เป็นเพราะเกิดจากการขาดทรัพยากร แต่อาตมาเชื่อว่า สาเหตุสำคัญคือความไม่เป็นธรรมจากภาครัฐ นั่นหมายความว่าปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้จะแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริงต่อเมื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ โดยส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมือ และมีการกระจายอำนาจมากขึ้น ในความรู้สึกของประชาชนใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม เขารู้สึกว่าเขาเป็นประชาชนชั้นสอง ไม่ว่าในเรื่องของวัฒนธรรมก็ดี ภาษาก็ดี กระบวนการยุติธรรมก็ดี รวมทั้งการการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่รัฐ เขาไม่ได้รับความเท่าเทียม จุดนี้เป็นเงื่อนไขที่ทำให้ผู้ก่อความไม่สงบ สามารถปลุกปั่นยุยงประชาชน ทำให้เกิดแนวร่วมและพลพรรคร่วมขบวนการ คล้ายกับการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในอีสานและภาคอื่น ๆเมื่อประมาณ ๔๐ ๕๐ ปีก่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากความยากจน ความไม่เป็นธรรม และถูกกลั่นแกล้งจากเจ้าหน้าที่ ชาวบ้านจึงหนีเข้าป่าและจับอาวุธขึ้นสู้ หรือเป็นแนวร่วมส่งเสบียงให้ แต่ปัญหาที่๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความซับซ้อนกว่า เนื่องจากมีประเด็นเรื่องของชนกลุ่มน้อย ในภาคอีสานส่วนใหญ่พูดภาษาไทย ถือพุทธ แต่ที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นคนมาเลย์ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมแตกต่างจากคนไทยส่วนใหญ่ อาตมาคิดว่า ที่รัฐบาลสามารถเอาชนะคอมมิวนิสต์ได้ก็เพราะเปลี่ยนแนวทาง หันมาใช้การเมืองนำการทหาร โดยอาศัยคำสั่ง๖๖/๒๓ พยายามขจัดเงื่อนไขสงครามและความรุนแรง โดยให้มีประชาธิปไตยและความเป็นธรรมมากขึ้น รวมทั้งให้นิรโทษกรรมแก่ผู้ที่จับอาวุธขึ้นสู้ นี่คือมาตรการสำคัญในการเอาชนะคอมมิวนิสต์ อาตมาคิดว่าแนวทางนี้สามารถนำมาใช้ได้กับกรณีผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้ แต่แน่นอนว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันมีความแตกต่างจากปี ๒๕๒๓ วัฒนธรรม ภาษา และศาสนาก็มีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่แตกต่างจากเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการให้เหมาะสมกับเงื่อนไขต่าง ๆ ด้วย คำถาม
งานที่ทางหน่วยฯ ลงไปปฏิบัติส่วนใหญ่เป็นบางครั้งเป็นงานภาคสนาม ทำให้พบว่ามีความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาระหว่างพื้นที่ต่างจังหวัดกับคนเมืองอยู่มาก
พระอาจารย์มองว่ามีแนวทางใดที่สามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในฐานะที่ทหารเป็นผู้ปฏิบัติงาน.....? เมื่อใดก็ตามที่ประชาชนเป็นเพียงผู้รับการพัฒนา การพัฒนานั้นก็จะไม่ยั่งยืน เช่น สมัยก่อนรัฐบาลหรือนักศึกษา ไปสร้างห้องสมุดหรือศาลาประชาคมให้ชาวบ้าน แต่ชาวบ้านกลับไม่ดูแลรักษา เนื่องจากเป็นสิ่งที่เขาไม่ต้องการ และสาเหตุที่เราไม่รู้ว่าเขาไม่ต้องการ ก็เพราะไม่เคยไปถามชาวบ้านว่าเขาต้องการหรือไม่ ดังนั้นก่อนจะทำอะไร ควรถามชาวบ้านก่อนว่าต้องการสิ่งนั้น ๆ หรือไม่ หากเขาต้องการจริง ก็ควรให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม สมัยอาตมาออกค่ายไปสร้างโรงเรียน จะชวนให้ชาวบ้านมาร่วมสร้างด้วย เพื่อให้ชาวบ้านรู้สึกเป็นเจ้าของ และรู้สึกว่าโรงเรียนนี้ ไม่ใช่ของใคร แต่เป็นของเขาเอง การพัฒนาที่ทหารจะเข้าไปผลักดันก็เช่นกัน จะสร้างอะไรต้องถามชาวบ้านก่อน ว่าสอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้านหรือไม่ หากสอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้านแล้ว ก็ต้องให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมด้วย การมีส่วนร่วมนั้นต้องขึ้นอยู่กับความสะดวกของชาวบ้านด้วย เพราะชาวบ้านต้องทำมาหากิน อาตมาคิดว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ชาวบ้านจะรู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นของเขา เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของเขาและช่วยกันดูแล นี่คือจุดเริ่มต้น ของการเข้าใจปัญหา เข้าถึงความรู้สึกของชาวบ้าน สร้างความรู้สึกเป็นพี่เป็นน้องกัน การพัฒนาก็จะยั่งยืน คำถาม
งานด้านพัฒนาเป็นงานที่ต้องใช้เวลา บางงานเมื่อลงมือปฏิบัติไปแล้วใช้เวลานานจึงจะเห็นผล
แต่บางงานก็ไม่เห็นผลเลย จึงอยากจะถามพระอาจารย์ว่ามีหลักธรรมใดที่เป็นการให้กำลังใจสำหรับทหารที่ทำงานด้านการพัฒนา.....? ฉันทะเป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน มีเรื่องเล่าว่าชาย ๓ คน ก่ออิฐอยู่ใกล้กัน คนแรกก่ออิฐสักพักก็หยุดสูบบุหรี่ บุหรี่หมดมวนจึงจะทำต่อ คนที่ ๒ ดูกระฉับกระเฉง แต่ทำไปดูนาฬิกาไป คนที่ ๓ กระตือรือร้นมาก เหงื่อโทรมกาย แต่กระฉับกระเฉง เมื่อถามทั้ง ๓ คนว่ากำลังทำอะไร คนแรกตอบว่า..ผมกำลังก่ออิฐ คนที่ ๒ ตอบว่า..ผมกำลังก่อกำแพง คนที่ ๓ ตอบว่า..ผมกำลังสร้างวัด ทำไมคนที่ ๓ จึงกระฉับกระเฉง ไม่มีท่าทีอู้งาน?..เพราะเขาคิดว่ากำลังสร้างวัด เป็นบุญกุศลจึงมีความกระตือรือร้น คนแรกมองแค่ว่า ฉันกำลังก่ออิฐ จึงไม่มีแรงจูงใจ คนที่ ๒ ก่อกำแพง ก็ไม่มีแรงจูงใจเหมือนกัน แต่ที่ทำเพราะว่าอยากได้ค่าจ้าง ส่วนคนที่ ๓ แน่นอนว่าเขาก็รับจ้าง แต่เขาไม่ได้หวังแค่ค่าจ้าง เขามีความสุขที่ได้สร้างวัด เป็นบุญกุศล คนที่ ๓ นี้เรียกว่ามีฉันทะ เมื่อทำแล้วมีความสุข งานก็ได้ผล มีคุณภาพ ที่เขามีฉันทะเพราะเห็นว่า สิ่งที่เขาทำมีประโยชน์กว้างไกล... ดังนั้นเวลาทำงานพัฒนาอย่าคิดแต่เพียงว่า เรากำลังสร้างแค่ถนนหรือกำแพง ที่จริงเรากำลังสร้างชาติ สร้างเมืองไทยให้น่าอยู่ กำลังนำความสุขมาให้แก่พี่น้องประชาชน ไม่สำคัญว่าจะใช้เวลาในการสร้างนานเท่าไร แต่ถ้าวิสัยทัศน์ของเราไปไกล เห็นชัดว่าเมื่อสร้างเสร็จจะเกิดอะไรขึ้นแก่ส่วนรวม ถ้าเรามองไกลแบบนี้ก็จะมีกำลังใจในการทำงาน คำถาม
ทุกวันนี้ประเทศไทยมีความเจริญทางด้านวัตถุเกิดขึ้นมาก และดูเหมือนจะสวนทาง
กับจิตใจของมนุษย์ที่กลับลดต่ำลงทุกทีๆ ...เป็นไปได้หรือไม่ครับ ที่เมื่อมีความเจริญทางด้านวัตถุแล้วจะไม่สวนทางกับความเจริญทางด้านจิตใจ
ให้ทั้งสองอย่างเดินไปด้วยกันได้.....? มีปัจจัยหนึ่งที่น่าสนใจคือ จากการศึกษาประเทศที่ร่ำรวยในระดับใกล้ ๆ กัน พบว่าเรื่องจิตสำนึกมีความสัมพันธ์กับความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยเฉพาะในเรื่องของรายได้ ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย รายได้เฉลี่ยต่อหัวไม่แตกต่างจากอเมริกา อังกฤษ และสิงคโปร์มากนัก คือร่ำรวยเหมือนกัน แต่ ๓ ประเทศแรกมีความเหลื่อมล้ำทางรายได้น้อยมาก คนรวยและคนจนรายมีได้แตกต่างกันไม่มากนัก ส่วน ๓ ประเทศหลังมีความเหลื่อมล้ำมาก เมื่อศึกษาเปรียบเทียบจะพบว่า ๓ ประเทศแรก เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีปัญหาสังคมน้อยกว่า ไม่ว่าปัญหาอาชญากรรม คนเป็นโรคจิต เด็กที่ตั้งท้องในวัยเรียน และปัญหาสิ่งแวดล้อม ขณะที่ความไว้เนื้อเชื่อใจมีมากกว่า ผู้คนจะไม่ค่อยมองคนอื่นว่าเป็นศัตรู ส่วน ๓ ประเทศหลังนั้น เช่น อเมริกา จะมีปัญหาสังคมมากกว่า และมีความระแวงมากกว่าด้วย อันนี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ว่า จิตสำนึกของผู้คนกับความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้นมีความสัมพันธ์กัน หากทำให้สังคมมีความเสมอภาคกันหรือมีรายได้ไม่ต่างกันมากนัก จิตสำนึกของผู้คนจะดีขึ้น มีปัญหาสังคมน้อยลง เพราะฉะนั้นนอกจากการสร้างจิตสำนึกด้วยการศึกษาและการเลี้ยงดูในครอบครัวแล้ว การลดความเหลื่อมล้ำในสังคมก็จะช่วยส่งเสริมจิตสำนึกของผู้คนและช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ราบรื่นในสังคม คำถาม
มีบางมุมมองที่ว่า การศึกษาไม่ได้ช่วยให้คนมีจริยธรรมมากขึ้น แท้จริงแล้วสถาบันการศึกษาไม่ได้มีส่วนหรือมีส่วนน้อยในการช่วยปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วม
พระอาจารย์เห็นด้วยหรือไม่ อย่างไรครับ.....? คำถาม
สำหรับสังคมปัจจุบันที่มีแต่ความขัดแย้ง พอจะมีแนวทางใดบ้างที่คนในสังคมควรยึดถือปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดความสุขหรือลดความขัดแย้งลง.....? ในขณะเดียวกัน อาตมาคิดว่าความขัดแย้งส่วนหนึ่งเกิดจากความไม่พอใจที่สังคมมีความเหลื่อมล้ำกันมากอย่างที่มีการกล่าวว่า สังคมปัจจุบันเป็นสังคมสองมาตรฐาน นี่เป็นสิ่งที่คนจำนวนมากรู้สึก เพราะเห็นได้ทุกหนหนแห่ง เช่น เวลาขับรถบนท้องถนน ถ้าเป็นรถกระบะก็โดนตำรวจเรียก แต่ถ้าเป็นรถเบนซ์ตำรวจก็ไม่ว่าอะไร หรือการสอบเข้าหน่วยงานราชการ ต้องมีเส้นสายจึงจะสอบเข้าได้ หากไม่มีเส้นสาย เก่งแค่ไหนก็สอบเข้าไม่ได้ นี่คือสิ่งที่เห็นได้ทั่วไป ต้องแก้ตรงจุดนี้ เพราะหากไม่แก้ ก็จะเกิดปัญหาอย่างที่เคยเกิดการแพร่ระบาดของคอมมิวนิสต์เมื่อ ๔๐ ๕๐ ปี ที่แล้ว หรือ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนนี้ ซึ่งล้วนเกิดจากการที่ผู้คนรู้สึกว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องนี้ก็จะเอนเอียงไปทางนั้น ทำให้เกิดกระแสต่อต้านผู้มีอำนาจ ตามที่อาตมาได้บอกไปว่า สังคมที่มีความเหลื่อมล้ำน้อย จะเป็นสังคมที่มีความเกลียดชังกันน้อย ไว้ใจกันมาก ส่วนสังคมไทยในตอนนี้ผู้คนระแวงกันมาก สิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้เลยคือในเวลานี้มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้มาก เมื่อเปรียบเทียบรายได้ของกลุ่มผู้มีรายได้สูงสุด (๒๐ เปอร์เซ็นต์บนสุด) และรายได้ต่ำสุด (๒๐ เปอร์เซ็นต์ล่างสุด) จะพบว่ามีความแตกต่างกันถึง ๑๔ เท่า หากเปรียบเทียบในเรื่องทรัพย์สินครัวเรือน ก็พบว่ามีความแตกต่างมากถึง ๗๐ เท่า ในระดับนานาชาติถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก ต้องแก้ที่จุดนี้ด้วย อาตมาในฐานะที่เคยเป็นกรรมการปฏิรูป เห็นความสำคัญของการปฏิรูป โดยเฉพาะการปฏิรูปที่ดิน การกระจายอำนาจทางการเมือง ไม่ให้รวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง มาตรการเหล่านี้จะช่วยในการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม และทำให้เกิดความรุนแรงในบ้านเมืองน้อยลง... ...ความร่ำรวยของเมืองไทยเหมือนเป็นภาพลวง คือรวยแต่ยอด แต่ฐานนั้นจน คล้ายกับห้างรอยัล พลาซ่าซึ่งถล่มเมื่อประมาณ ๒๐ ปีที่แล้ว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีการต่อเติมส่วนบนขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ด้านบนหนัก แต่ฐานอ่อนแอ จึงถล่มลงมา เมืองไทยในเวลานี้ที่เราดูว่ามีความเจริญ เป็นเพราะเรามองที่คนรวยซึ่งก็รวยเอา ๆ แต่คนข้างล่างนั้นกลับย่ำแย่ มีการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ของเงินฝากในประเทศ เป็นเงินจาก ๗๐,๐๐๐ บัญชี หากคนหนึ่งมี ๒ บัญชี (ที่จริงน่าจะมีมากกว่านั้น) ก็หมายความว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ของเงินฝากทั้งประเทศเป็นของคนแค่ ๓๕,๐๐๐ คน เท่านั้นซึ่งถือว่าน้อยมาก เป็นสิ่งลวงตาที่บอกว่าประเทศไทยร่ำรวย แท้ที่จริงแล้วมีแค่ส่วนน้อยที่รวย แต่คนส่วนใหญ่อยู่อย่างจำกัดจำเขี่ย คำถาม
พระอาจารย์มีอะไรฝากถึงกำลังพลของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาหรือไม่ครับ.....?
|
รวบรวมงานเขียนและบทความของพระไพศาล
วิสาโล www.visalo.org korobiznet
เอื้อเฟื้อพื้นที่
|